ปัญญาภายนอก
งอกงามสู่การมี
ความเข้าใจต่อโลกภายนอกทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินชีวิตให้อยู่ได้อย่างมีคุณภาพและมีความหมาย (Meaningfulness)
หลักสูตรการศึกษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
+
การออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นคุณค่าสะท้อนความสามารถของนักเรียน เป็นบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Education) โดยผ่านการลงมือปฏิบัติจริง (Experiencal Learning)
+
วิธีการสอนแบบ Active Learning ที่สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของสมอง ผ่านการสะท้อนคิดอย่างลึกซึ้ง (Reflection) กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ผ่าน Critical questioning
หลักสูตรอนุบาลจิตศึกษา
ระดับเตรียมอนุบาล-อนุบาล 3
อนุบาลจิตศึกษา เป็นการจัดศึกษาที่เน้นความเป็นมนุษย์ เห็นคุณค่าของเด็กให้เด็กทุกคนได้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ และงอกงามได้ตามศักยภาพของตน โดยจัดกิจกรรมที่พัฒนา: ทักษะ, Selfต่างๆ (self, self esteem, self control), บ่มเพาะ EF สร้าง Empathy และพัฒนาการทั้ง 4 ด้านผ่านการเล่น และการลงมือทำ ทำให้เด็กมองเห็นศักยภาพของตนเอง และผู้อื่น สามารถควบคุมจิตใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก มีความยืดหยุ่นทางด้านจิตใจ
ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม




เรียนภาษาไทยแบบใหม่ให้เป็นเรื่องสนุก เด็กได้คลังคำศัพท์จากนิทาน ทั้งความหมายเหมือนและความหมายต่าง สามารถสื่อสารได้มีปาะสิทธิภาพอย่างที่เด็กคิด เรียนพยัญชนะ สระ อย่างมีความหมาย
Story-Based English Learning




Story-Based English Learning คือวิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบใหม่ที่ใช้ Story หรือวรรณกรรมเด็ก เป็นเครื่องมือหลักในการกระตุ้นการเรียนรู้ ผ่านการเล่าเรื่อง อ่านนิทาน หรือสร้างสถานการณ์จำลองจากเรื่องราวที่น่าสนใจ เน้นการเรียนรู้ผ่านความสนุกและบริบทที่เข้าใจง่าย ในระดับอนุบาลช่วยพัฒนาเด็กในหลายด้าน, ทักษะการฟังและพูด ผ่านการคุ้นเคยสำเนียงและการพูดคำง่าย ๆ, การขยายคำศัพท์พื้นฐาน และเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ในบริบทที่ชัดเจน, การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการผ่านนิทาน, รวมถึง การสร้างความมั่นใจ ให้เด็กกล้าสื่อสารภาษาอังกฤษและมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษในระยะยาว
Math Open Approach




เป็นคณิตศาสตร์แนวใหม่ (New Mathematics) นำเสนอสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับโลกในชีวิตจริง ผ่านมุมมองแนวคิดของตนเองที่มีความหมาย (Student’s idea) และค่อย ๆ พัฒนาแนวคิดทางคณิตศาสตร์ (Mathematical ideas) และในที่สุดกลายเป็นความคิดรวบยอด หรือ กฏ สูตรทางคณิตศาสตร์
“จากโลกในชีวิตจริงหรือชีวิตประจำวัน สู่ โลกทางคณิตศาสตร์ (From Real World or Daily Life to Mathematical World)”
PBL : งานบ้าน งานสวน งานครัว งานสำรวจ และงานเล่น




เชื่อมโลกและสรรพสิ่งผ่านการเล่นและการลงมือทำ การเรียนรู้ร่วมกันโดยที่ไม่มีข้อกำหนดหรือรูปแบบที่ตายตัวทำให้ผู้เรียนมองเห็นศักยภาพของตนเองและผู้อื่น เกิดความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีความสามารถที่จะอยู่กับการเปลี่ยนแปลง สามารถที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะควบคุมจิตใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก การที่มีความยืดหยุ่นทางด้านจิตใจและการรักษาความสมดุลทางอารมณ์
เทควันโด




เปียโน




หลักสูตรฐานสมรรถนะ
ระดับประถมศึกษา 1-6
มีเป้าหมายสร้างนักเรียนให้เป็นนวัตกร มุ่งเน้นให้นักเรียน เรียนเก่งอย่างมีความสุข เป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learner) เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (EF) ด้วยการเรียนการสอนแบบ Active Learning นำสู่ V-A-S-K (Value=ค่านิยม, Attitude=เจตคติหรือทัศนคติ, Skills=ทักษะ, Knowledge=ความรู้)
ทำไมจึงต้องเปลี่ยนการสอนแบบเดิมเป็นการสอนฐานสมรรถนะ?
โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคม การศึกษาจึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนการสอนเป็นฐานสมรรถนะ(Competency-Based Curriculum) เพื่อให้ผู้เรียนพร้อมปรับตัวในโลกยุคใหม่และพร้อมเรียนรู้ตลอดชีวิต ทั้งนี้ยังช่วยยกระดับระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์อนาคตมากขึ้น มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยเชื่อมโยงความรู้กับสถานการณ์จริง เน้นผลลัพธ์ที่วัดได้ ลดการท่องจำ และตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมถึงส่งเสริมสมรรถนะทางอารมณ์และสังคม
ภาษาไทยผ่านวรรณกรรม




เรียนภาษาไทยผ่านวรรณกรรม เพื่อให้เด็กเข้าถึงวรรณกรรมพัฒนาความคิดขั้นสูง ครูได้ออกแบบการสอนภาษาไทยผ่านวรรณกรรมที่ไปไกลกว่าอ่านออกเขียนได้ ยกระดับคุณภาพไปสู่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การวิจารณ์ และการวิเคราะห์
Story-Based English Learning




Story-Based English Learning ระดับประถมช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนผ่านเรื่องราวต่าง ๆ ฝึกการคิดวิเคราะห์ด้วยการจับใจความและแสดงความคิดเห็น ขยายคลังคำศัพท์และความเข้าใจไวยากรณ์ให้ลึกซึ้งขึ้น พร้อมสร้างความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษในสถานการณ์หลากหลาย
คณิตศาสตร์ Pro-active




คณิต Pro-Active เป็นแนวทางการสอนคณิตศาสตร์ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการที่มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น (Proactive) โดยเชื่อว่าคณิตศาสตร์ไม่ได้เป็นเพียงการคำนวณ แต่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา และการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง
Project Based Learning




เป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบ Experiential Learning คือกระบวนการสร้างความรู้จากประสบการณ์ ที่นำนักเรียนเข้าถึงคุณค่าของสิ่งรอบตัว โดยเรียนรู้จากแก่นเรื่องที่เชื่อมโยงกับชีวิตของนักเรียน และการปฎิบัติจริงเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องนั้นจนเกิดเป็นความรู้ของตนเอง มองเห็นความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ เกิดความคิดที่เป็นระบบ นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในการทำชิ้นงาน และการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้พื้นที่การเรียนรู้ทั้งภายในบริเวณโรงเรียนและภายนอกโรงเรียน เรียนรู้สภาพแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของผู้คนในชุมชน
เทควันโด




เปียโน





