“ปัญญาภายใน งอกงามสู่ความไม่มี”
ระบบการศึกษาในอดีต มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจโลก เข้าใจศาสตร์ต่างๆ แต่ไม่ได้เข้าใจตัวเองดีเท่าที่ควร
โรงเรียนอนุบาลมัชฌิมาจึงเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจต่อตัวเอง ต่อชีวิต ดำเนินชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย รู้คุณค่าตัวเอง จึงนำ “นวัตกรรมจิตศึกษา” จากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ มาใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนา ปัญญาภายใน ซึ่งนวัตกรรมจิตศึกษา เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกปลอดภัย เป็นพื้นที่ปลอดภัยต่อการเรียนรู้
เรามองเห็นว่า “ระบบนิเวศที่ดีเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเปิดสมอง รับข้อมูล และเกิดกระบวนการเรียนรู้มากที่สุด”
นวัตกรรมจิตศึกษา
มีเป้าหมายให้นักเรียน…
ด้วยการดำเนินการ 3 กระบวนทัศน์สำคัญ ได้แก่ 1 วิถีชุมชน หรือ สนามพลังบวก 2 จิตวิทยาเชิงบวก และ 3 กิจกรรมจิตศึกษา

1 วิถีชุมชน หรือ สนามพลังบวก

โรงเรียนอนุบาลมัชฌิมา เชื่อว่า บรรยากาศและสัมพันธภาพที่ดีในชุมชน ผ่านวิถีปฏิบัติที่สมเหตุสมผล ปฏิบัติอย่างคงเส้นคงวา สถานที่ภายในโรงเรียนสะอาด ร่มรื่น ทำให้สมองเกิดความรู้สึก และเข้าไปสัมผัสสมองส่วนกลาง ทำให้เด็กรับรู้ถึงความปลอดภัย นำมาสู่การเริ่มรับรู้ข้อมูลและประมวลผลข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นี่คือ…พื้นที่ที่นักเรียนได้เติบโตในสนามพลังบวกทั้งกายใจความคิดและจิตวิญญาณ พร้อมเป็นกำลังสำคัญของสังคมในอนาคต
2 จิตวิทยาเชิงบวก

หลักการทำให้มนุษย์เคารพคุณค่าของกันและกันอย่างเท่าเทียม
ผ่านแนวทางดังนี้…
เมื่อสนามพลังบวกรวมกับจิตวิทยาเชิงบวกจะทำให้ทุกอย่างเกื้อกูลกัน สนับสนุนกัน เอื้อให้สมองผู้เรียนเปิดรับข้อมูล และประมวลผล ทำให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่นี่… ทุกเสียงของเด็กมีความหมาย ทุกความพยายามมีคุณค่า และทุกก้าวเล็ก ๆ คือการเติบโต เราสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วย พลังบวก เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อย่างมีความสุข พร้อมก้าวไปสู่อนาคตที่สดใส!
3 กิจกรรมจิตศึกษา
กิจกรรมจิตศึกษา 3 รูปแบบ 3 ช่วงเวลา
1.กิจกรรมจิตศึกษา ตอนเช้าก่อนเรียน

สถานการณ์ที่ครูให้นักเรียนได้เผชิญทุก ๆ วันแบบไม่ซ้ำ ผ่านขั้นตอน ชง เชื่อม ใช้ กระตุ้นการคิด ฝึกการสลับที่, ฝึกการใคร่ครวญ, สะท้อนคิด, ตัดสินใจเชิงจริยธรรม ฝึกการฟังและเคารพความคิดเห็นของคนอื่น เป็นการพัฒนาสมองส่วนหน้าเพื่อพัฒนาให้แข็งแรง
กิจกรรมจิตศึกษา ระดับประถมศึกษา
2.กิจกรรมจิตศึกษา Body Scan ก่อนเรียนภาคบ่าย

การ Body Scan เป็นการปรับคลื่นสมองให้ต่ำหลังจากเรียนช่วงเช้า สมองทำงานหนัก เป็นเครื่องมือให้นักเรียนได้รับข้อมูลที่ดี มีความหมาย ในคลื่นสมองระดับอัลฟ่า พร้อมเรียนรู้วิชาอื่น ๆ ในช่วงบ่าย
3.กิจกรรมจิตศึกษา จัดกายจัดใจ ก่อนกลับบ้าน

ช่วงเวลา 15.00 ถึง 15.30 ของทุกวัน ทุกชั้นจะมีกิจกรรมจัดกายจัดใจ โดยมีหลักคิดที่ว่า เมื่อการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั้งวันนั้นมีข้อมูลมากมายมหาศาลก็ควรจะมีช่วงเวลาแห่งการใคร่ครวญสะท้อนคิด (AAR) ร่วมกันสร้างข้อสรุปเชิงหลักการว่าในวันนี้เราได้เรียนรู้สิ่งใดใหม่ เราจะนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้อะไร ผ่านการเขียนหรือผ่านการพูด ตามลักษณะของคำถาม